การศึกษาความเป็นไปได้และประเมินผล (Feasibility study and assessment)
เป้าหมายและขอบเขตการวิจัย
มุ่งเน้นศึกษาวิจัยด้านการศึกษาความเป็นไปได้ก่อนการดำเนินโครงการ และศึกษาผลกระทบด้านต่างๆ ต่อชุมชน สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ที่เกิดขึ้นจาการดำเนินโครงการด้านพลังงานสะอาด รวมถึงศึกษาความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ในการดำเนินโครงการ ครอบคลุมประเด็น Social assessment Health care assessment Environmental assessment และ Economic assessment
โครงการวิจัยและงานบริการวิชาการ
ปี | โครงการ | แหล่งทุน |
---|---|---|
2017 | การศึกษารูปแบบการผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานหมุนเวียนที่เหมาะสมในอุทยานแห่งชาติและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าของประเทศไทย | กกพ. |
2016 | การประเมินผลโครงการระบบผลิตไฟฟ้าแบบผสมผสานด้วยพลังงานสะอาด สำหรับอุทยานแห่งชาติและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ด้วยแบบจำลองซิปป์ | ว.1 |
2016 | โครงการการศึกษารูปแบบการผลิตและใช้พลังงานที่เหมาะสมในพื้นที่บ้านโป่งลึก-บางกลอย | มูลนิธิปิดทองหลังพระฯ |
2014 | The new market-based mechanisms research study: Thailand and Philippines | SEA |
2014 | โครงการศึกษารูปแบบการผลิต และการใช้พลังงานทดแทนในพื้นที่เกาะฮั่งแบบครบวงจร | กฟผ. |
2012 | โครงการชุมชนเกาะหมากน้อย: เกาะอิสระจากพลังงาน ระยะที่ 1 | UNDP |
2012 | โครงการศึกษาความเป็นไปได้ในการจัดตั้งโรงไฟฟ้าพลังน้ำระดับชุมชนภายใต้โครงการรับซื้อไฟฟ้าจากแหล่งผลิตไฟฟ้าขนาดเล็ก (VSPP): กรณีศึกษาชุมชนคีรีวง | ว.1 |